O30-มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน และการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

แต่งตั้งคณะกรรมกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของสถานีตำรวจ

ผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

ชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน

วันที่ 16 ก.พ.2566 เวลา 09.30 น. พ.ต.อ.เจริญ แดงเรือง ผกก.สภ.ลับแล ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการ เพื่อเตรียมความพร้อม การตรวจงานแนวทางการยกระดับการบริการประชาชนและแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของสถานีตำรวจ(POLICE ITA 2023) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
1.ศึกษาและวิเคราะห์กรอบการประเมิน ประเด็นที่ต้องปรับปรุง/ยกระดับการพัฒนา
2.กำหนดมาตรการ/กิจกรรม ในการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ทั้งด้านระบบงาน พฤติกรรมและวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานการสื่อสารสร้างการรับรู้ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก แยกตามตัวชี้วัด
3.การกำหนดหน้าที่ในความรับผิดชอบ
4.การกำกับติดตามโดยหัวหน้าสถานีตำรวจ

ประชุมชี้แจงในที่ประชุมประจำเดือนเพื่อขับเคลื่อนการประเมิน

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2566 สภ.ลับแล ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี พ.ต.อ.เจริญ แดงเรือง ผกก.สภ.ลับแล เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ และทำความเข้าใจ               กรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1) การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)
– ให้สถานีตำรวจศึกษาการเข้าใช้ระบบ POLICEITA พร้อมจัดทำข้อมูลสาธารณะตามแบบฟอร์มที่กำหนดลงในระบบดังกล่าว
2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)
– ให้สถานีตำรวจทำความเข้าใจในข้อคำถามและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นข้อคำถามให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทราบ ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้
3) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)
– ให้สถานีตำรวจนำช่องทางการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เปิดเผย ณ จุดให้บริการ และพัฒนา                         การให้บริการเพื่อสร้างความรวดเร็วและความสะดวกให้แก่ประชาชน ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้

นำเข้าที่ประชุม กต.ตร.สถานีตำรวจ เพื่อนำข้อมูล เสนอแนะ และปรับปรุง ตามตัวชี้วัดของการประเมินของภาครัฐ

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ของสถานีตำรวจภูธรลับแล
ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ลงสู่ “สถานีตำรวจทั่วประเทศ” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 256๖ ในฐานะหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีภารกิจในการบริการประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของการบริหารราชการของสถานีตำรวจ และเกิดกลไกการมีส่วนร่วมและการป้องกันการทุจริตในการบริหารราชการ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารราชการ การให้บริการ ให้มีคุณธรรมและความโปร่งใส
สถานีตำรวจภูธรลับแลได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่ง ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.256๖ รายละเอียดดังนี้
1. การชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน          
– เมื่อวันที่   11  มีนาคม 2566 พ.ต.อ.เจริญ แดงเรือง ผกก.สภ.ลับแล ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้ว จึงได้นำเข้าที่ประชุม ก.ตร.สภ.ลับแล เพื่อดำเนินการตามตัวชี้วัด 

030-รายละเอียดข้อมูลที่เผยแพร่(Checklist)
…………………………………………………………………..
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
☐  แสดงถึงการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่
☐ การชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน
☐ การศึกษาและวิเคราะห์กรอบการประเมิน ประเด็นที่ต้องปรับปรุง/ยกระดับการพัฒนา
☐ การกำหนดมาตรการ/กิจกรรม ในการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ทั้งด้านระบบงาน พฤติกรรมและวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานการสื่อสารสร้างการรับรู้ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก แยกตามตัวชี้วัด
☐ การกำหนดหน้าที่ในความรับผิดชอบ
☐ การกำกับติดตามโดยหัวหน้าสถานีตำรวจ
การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
☐  มีข้อมูลรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ภายในสถานีตำรวจที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   
☐  เป็นข้อมูลในระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
☐  ระบุข้อมูลในการจัดทำ ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2566