อำนาจหน้าที่และภารกิจของสถานีตำรวจภูธรลับแล

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปราบปรามในสถานีตำรวจ

1.หัวหน้างานป้องกันปราบปราม มีหน้าที่ดังนี้เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนอํานวยการ สั่งการ ควบคุม กํากับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งเป็นการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ งานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตํารวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ ในเขตพื้นที่ของสถานีตํารวจ เพื่อมิให้เกิด อาชญากรรมขึ้น โดยจําแนกออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้
1.1 งานการข่าว
1.2 งานจัดทําแผนที่ ระบบข้อมูลอาชญากรรม รวมทั้งการจัดระบบข้อมูลเป้าหมายที่ อาจเกิดอาชญากรรม และระบบข้อมูลทางสังคม ที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันระงับ ปราบปรามอาชญากรรม
1.3 งานควบคุมผู้ต้องหาและผู้ถูกกักขัง
1.4 งานควบคุมศูนย์วิทยุหรือการรับ – ส่งวิทยุของสถานีตํารวจ
1.5 งานจัดตั้งจุดรับแจ้งเหตุ จุดตรวจ จุดสกัด และกําหนดมาตรการต่างๆ ในการ ป้องกันและปราบปรามมิให้อาชญากรรมเกิดขึ้น
1.6 งานจัดสายตรวจทุกประเภท
1.7 งานควบคุมแหล่งอบายมุข และการจัดระเบียบสังคม
1.8 งานปราบปรามการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและ พระราชบัญญัติ ต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ
1.9 งานปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง
1.10 งานพิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี
1.11 งานปราบปรามผู้มีอิทธิพลเกี่ยวกับบ่อนการพนัน สถานบริการและแหล่ง อบายมุข
1.12 งานปราบปรามผู้มีอิทธิพลในการฮั้วประมูล และขัดขวางการเสนอแข่งขันราคา ในการประมูล
1.13 งานที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
1.14 งานตามกฎหมายว่าด้วยการจําหน่วยสุรา สถานบริการ โรงแรม ภาพยนตร์ โรงรับจํานํา อาวุธปืน การพนัน และค้าของเก่า การเรี่ยไร รวมทั้งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายบัญญัติ ให้อํานาจไว้
1.15 งานฝึกอบรมประชาชน อาสาสมัคร เด็ก เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกเสือชาวบ้าน สมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ ฯลฯ ที่เกี่ยวกับการป้องกัน อาชญากรรมและรักษาความปลอดภัยเพื่อช่วยเหลือกิจการตํารวจ
1.16 งานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตํารวจ (กต.ตร.) ระดับ สถานีตํารวจ
1.17 งานประชาสัมพันธ์ ชุมชนสัมพันธ์ เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนและทุกภาคส่วนของสังคมในเขต พื้นที่ของสถานีตํารวจ
1.18 งานพัฒนากําลังพล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เพื่อใช้ในการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม
1.19 งานระบบงบประมาณที่เกี่ยวกับงานป้องกันปราบปราม
1.20 ตรวจสอบติดสอบและประเมินผล วิจัยและพัฒนาการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการต่าง ๆ ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
1.21 กรณีการกระทําความผิดให้พิจารณาสั่งการให้ผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม ดําเนินการจับกุมหรือดําเนินการจับกุมด้วยตนเอง
1.22 งานการจัดกําลังร่วมในการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
1.23 การควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่างๆ เช่น การจัดงานตาม ประเพณี การชุมนุมประชุม และอื่น ๆ
1.24 งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจทั้งในด้านการ ปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
1.25 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจํา
1.26 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับงานป้องกันปราบปราม
1.27 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2. ผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม
2.1 สารวัตรป้องกันปราบปราม มีหน้าที่ดังนี้
2.1.1 ปฏิบัติงานตามที่หัวหน้างานป้องกันปราบปรามมอบหมาย
2.1.2 ปฏิบัติงานตามข้อ ๕.๔.๑ – ๕.๔.๒๓
2.1.3 ควบคุม ตรวจสอบ ให้คําปรึกษา แนะนํา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในงานป้องกันปราบปราม
2.1.4 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจําและ ต้องรีบรายงานให้หัวหน้างานป้องกันปราบปรามทราบในทันที
2.1.5 ปฏิบัติงานที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.1.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.2 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม
2.2.1 ทําหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1.1 ปฏิบัติงานตามที่หัวหน้างานป้องกันปราบปรามหรือ สารวัตรป้องกันปราบปรามมอบหมาย
2.2.1.2 ปฏิบัติงานตามข้อ ๕.๔.๑ – ๕,๔.๒๓ และข้อ ๕๕.๑.๓
2.2.1.3 กรณีมีการกระทําความผิดเกิดขึ้นให้ดําเนินการจับกุม โดยพิจารณาใช้กําลังตามความเหมาะสม แล้วรายงานหัวหน้างานป้องกันปราบปรามหรือสารวัตรป้องกัน ปราบปรามทราบ
2.2.1.4 ปฏิบัติหน้าที่นายร้อยตํารวจเวร ๕.๕.๒,๑(๕) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสายตรวจ
2.2.1.5 ขณะปฏิบัติหน้าที่นายร้อยตํารวจเวร และหัวหน้าสาย ตรวจในคราวเดียวกัน ให้ปฏิบัติหน้าที่ในด้านป้องกันเป็นหลัก ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ในด้านระงับปราบปราม ให้เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้หรือตามความเหมาะสม
2.2.1.6 ควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจ ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
2.2.1.7 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจ มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงาน ประจําและต้องรีบรายงานให้หัวหน้างานป้องกันปราบปรามหรือสารวัตรป้องกันปราบปรามทราบในทันที
2.2.1.8 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.2.1.9 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.3 รองสารวัตร (ตําแหน่งควบผู้บังคับหมู่ ถึงรองสารวัตร)
2.3.1 งานป้องกันปราบปรามมีหน้าที่ดังนี้
2.3.1.1 ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตําแหน่งระดับ ผู้บังคับหมู่ที่ปฏิบัติอยู่เดิม โดยปฏิบัติหน้าที่ในสายงานป้องกันปราบปราม ภายใต้การกํากับตรวจสอบโดยทั่วไป และอาจได้รับมอบหมายให้ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจจํานวนหนึ่ง
2.3.1.2 ตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ แก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบให้เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว
2.3.1.3 ปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรบริการบนสถานีตํารวจ หัวหน้ากลุ่มสายตรวจ หัวหน้าชุดมวลชนสัมพันธ์ หัวหน้าชุดปฏิบัติการชายแดน หัวหน้าชุดข่าว หัวหน้าชุดปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น
2.3.1.4 ปฏิบัติงานด้วยตนเองในลักษณะของผู้มีประสบการณ์ในงานด้าน ป้องกันปราบปรามของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นต้น
2.3.1.5 ช่วยเหลืองานของข้าราชการตํารวจระดับตําแหน่งสารวัตรหรือ เทียบเท่า
2.3.1.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชา
2.4 ผู้บังคับหมู่ ป้องกันปราบปราม
2.4.1ทําหน้าที่ธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
2.4.1.1 งานรับ – ส่ง และการเสนอหนังสือ
2.4.1.2 งานร่างโต้ตอบงาน
2.4.1.3 งานเก็บรักษา ค้น และทําลายเอกสาร
2.4.1.4 งานจัดเก็บและรวบรวมสถิติงานป้องกันปราบปราม
2.4.1.5 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.1.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.4.2 ทําหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม มีหน้าที่ดังนี้
2.4.2.1 เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายและสั่งการ เกี่ยวกับคดีอาญาทุกประเภทและคดีตามพระราชบัญญัติ ต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ โดยให้เก็บและรายงานตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติกําหนด
2.4.2.2 ป้องกันเหตุ โดยการตรวจตราทั่วไป หากต้องใช้กําลัง ตํารวจไปทําการระงับ ปรามปราบเมื่อพบเหตุที่ต้องระงับ ปราบปรามต้องดําเนินการด้วยตนเองหรือแจ้งสั่งให้ ใช้กําลังตํารวจตามความเหมาะสมหรือตามแผนที่กําหนดไว้
2.4.2.3 การปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา
2.4.2.4 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.2.5 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่นๆ
2.4.2.6 ปฏิบัติหน้าที่สิบเวรประจําสถานีตํารวจควบคุมการ ปฏิบัติหน้าที่ของยามสถานีตํารวจ ประชาสัมพันธ์ ควบคุมผู้ต้องหา พิมพ์ลายนิ้วมือ
2.4.2.7 ปฏิบัติหน้าที่ยามสถานีตํารวจ รักษาการณ์รักษาความ สงบเรียบร้อย ความสะอาด พัสดุของหลวง สิ่งของที่ยึดมาประกอบคดี ตลอดจนช่วยเหลือควบคุมดูแลผู้ต้องหา และผู้ต้องขัง
2.4.2.8 ปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ เพื่อแสวงหาความร่วมมือจาก หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนและทุกภาคส่วน ของสังคมในเขตพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.2.9 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.2.10 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.4.3 ทําหน้าที่คุมผู้ต้องหาบนสถานี มีหน้าที่ดังนี้
2.4.3.1 ควบคุมดูแลผู้ต้องหา ผู้ถูกกักขังและผู้ถูกจําขัง โดย จะต้องรายงานให้นายร้อยตํารวจเวรทราบ
2.4.3.2 การเยี่ยมผู้ถูกควบคุม โดยจัดให้ได้ตามกําหนดเวลาที่ กําหนดไว้เท่านั้น รวมทั้งตรวจตราดูแลสิ่งของและอาหารที่มีผู้นํามาเยี่ยม ผู้ถูกควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้มี สิ่งของต้องห้าม เล็ดลอดเข้าไปถึงผู้ถูกควบคุมในห้องควบคุมได้
2.4.3.3 ดําเนินการเรื่องการให้อาหารผู้ถูกควบคุม ตรวจตรา ดูแลอาหารที่ทางการจัดเลี้ยงไม่ให้มีสิ่งของต้องห้าม ปะปนเข้าไปในอาหาร และเลี้ยงอาหารตามเวลาที่กําหนดเท่านั้น
2.4.3.4 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.3.5 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่างๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.4.3.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.3.7 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย2.4.4 ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
2.4.4.1 สอบถามและให้คําแนะนําประชาชนผู้มาติดต่อ2.4.4.2 รับโทรศัพท์ ถ้าเป็นการแจ้งข่าวเกี่ยวกับคดีให้รีบแจ้ง ให้นายร้อยตํารวจเวรรับสาย
2.4.4.3 ดําเนินการเกี่ยวกับคําร้องต่าง ๆ
2.4.4.4 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.4.5 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.4.4.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.4.7 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย2.4.5 ทําหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือ มีหน้าที่ดังนี้
2.4.5.1 พิมพ์ลายนิ้วมือบุคคลที่ขอตรวจสอบประวัติ
2.4.5.2 พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา และนิ้วมือศพอันเกิดจากการ ตายโดยผิดธรรมชาติ
2.4.5.3 พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องสงสัย
2.4.5.4 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.5.5 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่างๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.4.5.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม ๕.๕.๔.๕๗) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.4.6 ทําหน้าที่เสมียนประจําธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
2.4.6.1 ลงบันทึกประจําวันการปฏิบัติงานของสถานีตํารวจใน ส่วนที่มิได้กําหนดให้ลงบันทึกในสมุดประจําวันคดี
2.4.6.2 ลงบันทึกการนําตัวผู้ต้องหาออกนอกห้องควบคุม ซึ่งพนักงานสอบสวนเป็นผู้สั่งการ โดยให้ผู้ทําหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหา ผู้รับตัวผู้ต้องหาจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
2.4.6.3 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.6.4 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่นๆ
2.4.6.5 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.6.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.4.7 ทําหน้าที่พนักงานวิทยุ มีหน้าที่ดังนี้
2.4.7.1 รับ – ส่งวิทยุ ระหว่างสถานีตํารวจกับหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้องและผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของสถานีตํารวจ
2.4.7.2 ดูแลรักษาเครื่องรับส่งวิทยุและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นผู้ดูแลรักษาเบื้องต้น ตลอดจนตรวจสอบเครื่องรับส่งวิทยุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการชํารุดเสียหาย ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อแก้ไขทันที
2.4.7.3 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.4.7.4 ควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่นๆ
2.4.7.5 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปราม
2.4.7.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายสอบสวนในสถานีตำรวจ

    สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะให้พนักงานสอบสวนรายงานผลการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และกรอบระยะเวลาตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดตามมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ โดยสำนักงาน ป.ป.ช. จะดำเนินการจัดให้มีช่องทางการรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเห็นสมควร อาจส่งเรื่องที่อยู่ ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา ๒๘ (๒) และ (๔) ที่มิใช่ความผิดร้ายแรง ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปก็ได้   
มาตรา ๖๕ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ แล้ว ให้หน่วยงานของรัฐนั้นดําเนินการไปตามหน้าที่และ อํานาจของตนและรายงานผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการและ ภายในกําหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด   
มาตรา ๖๖ ในกรณีท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่เห็นด้วยกับผลการดําเนินการตามรายงาน ตามมาตรา ๖๕ หรือมีกรณีเห็นว่าผู้ถูกร้องอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการดําเนินการนั้นจะไม่เที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเรียกสํานวนการไต่สวนหรือสอบสวนมาเพื่อดําเนินการได้ โดยจะดําเนินการไต่สวนใหม่ทั้งหมด หรือนําผลการไต่สวนหรือสอบสวนของหน่วยงานของรัฐน้ันทั้งหมดหรือบางส่วนมาถือเป็นการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ได้ 

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายสืบสวนในสถานีตำรวจ

1. หัวหน้างานสืบสวน มีหน้าที่ดังนี้เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงานสืบสวน รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนอํานวยการ สั่งการ ควบคุม กํากับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลตลอดจนการปฏิบัติงานในด้านการสืบสวนที่เกี่ยวกับ คดีอาญาที่เกิดขึ้น รวมทั้งงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ในเขตพื้นที่ของ สถานีตํารวจ เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานและผู้กระทําความผิดอันเป็นการอํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ในการสืบสวนคดีอาญาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจําแนกออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้
1.1 งานสืบสวนการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทําความผิด ตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญา และการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
1.2 งานพัฒนากําลังพล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิทยาการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสืบสวน
1.3 งานสืบสวนหาข่าวและระบบข้อมูลอาชญากรรม ๕.๘.๔ งานวางระบบการงบประมาณที่เกี่ยวกับงานสืบสวน
1.4 งานตรวจสอบติดตามและประเมินผล งานวิจัยและพัฒนาการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษาและเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน สืบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้น
1.5 งานวางแผนสืบสวน
1.6 งานสืบสวนหาข้อเท็จจริง และหลักฐานเพื่อทราบรายละเอียดของการกระทํา ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว
1.7 งานสืบสวนภายหลังจากรู้ตัวผู้กระทําความผิด ทั้งที่เป็นคดีที่อยู่ในความ รับผิดชอบของสถานีตํารวจ และกรณีจับกุมคนร้ายตามหมายจับของสถานีตํารวจอื่น เพื่อรู้แหล่งและ รายละเอียดเพื่อให้มีการจับกุม
1.8 ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสวน โดยสร้างความสัมพันธ์กับ ประชาชนในพื้นที่โดยใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการหาข่าว
1.9 กรณีพบการกระทําความผิดให้พิจารณาสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดําเนินการ จับกุม หรือดําเนินการจับกุมด้วยตนเอง
1.10 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และ พระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ1.11 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม ในการควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
1.12 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม เพื่อทําการตรวจค้นจับกุม
1.13 งานปกปิดให้ความคุ้มครองแหล่งข่าว และพยาน
1.14 ประสานการปฏิบัติงานกับงานอื่น ๆ ในสถานีตํารวจและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดจริงจัง เพื่อให้ผลในการป้องกัน ระงับ ปราบปราม กระทําความผิด
1.15 ให้คําปรึกษาแนะนํา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชาในงานสืบสวน
1.16 งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจ ทั้งในด้านการ ปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
1.17 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจํา
1.18 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวน
1.19 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการในสถานีตำรวจ

1. หัวหน้างานอํานวยการ มีหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงานอํานวยการ รับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผน สั่งการ ควบคุม กํากับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานสถานีตํารวจ งานการบริหารบุคลากร การศึกษาการฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและสรรพาวุธ การส่งกําลังบํารุง รวมทั้ง ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานในสถานีตํารวจ โดยจําแนกออกเป็นงานต่างๆ ดังนี้
1.1 งานนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ แผนประจําปี และแผน ปฏิบัติการประจําของสถานีตํารวจ
1.2 งานธุรการและสารบรรณทั่วไปของสถานีตํารวจ
1.3 งานกําลังพล รวมทั้งงานพัฒนาข้าราชการตํารวจและครอบครัวให้มีความพร้อม ทั้งด้านกําลัง ความคิด และจิตใจ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 งานการศึกษา ฝึกอบรม สัมมนา ดูงาน ตลอดจนงานเผยแพร่ความความรู้
1.5 งานสวัสดิการ
1.6 งานพัฒนาองค์กร และพัฒนาระบบการบริหารจัดการต่างๆ
1.7 งานงบประมาณการเงิน งานพัสดุ พลาธิการและสรรพาวุธ
1.8 งานการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.9 งานจัดการเรื่องเงินสินบน เงินรางวัล และเงินค่าตอบแทน
1.10 งานการจัดอาหารเลี้ยงดูผู้ต้องหา
1.11 งานทะเบียนคนต่างด้าวและงานการขออนุญาตต่าง ๆ
1.12 งานการประชาสัมพันธ์
1.13 งานตรวจสอบติดตามประเมินผล วิจัยและพัฒนาการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการต่าง ๆ
1.14 งานดูแลห้องประชุมและจัดการประชุม
1.15 งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจ ทั้งในด้านการ ปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
1.16 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจํา
1.17 งานอื่นที่ไม่ได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของงานใดในสถานีตํารวจให้เป็นหน้าที่ ของงานอํานวยการ
1.18 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอํานวยการ
1.19 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2. ผู้ปฏิบัติงานอํานวยการ
2.1 สารวัตรธุรการหรือสารวัตรอํานวยการ มีหน้าที่ดังนี้
2.1.1 ควบคุม ตรวจสอบ ให้คําปรึกษา แนะนํา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในงานอํานวยการ
2.1.2 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจําและต้อง รีบรายงานให้หัวหน้างานอํานวยการทราบในทันที
2.1.3 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอํานวยการ
2.1.4 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.2 รองสารวัตรธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1 ปฏิบัติงานตามข้อ 1.2 – 1.15 และ 2.1
2.2.2 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจําและต้อง รีบรายงานให้หัวหน้างานอํานวยการ หรือสารวัตรธุรการหรือสารวัตรอํานวยการทราบในทันที
2.2.3 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอํานวยการ
2.2.4 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
3. รองสารวัตร (ตําแหน่งควบผู้บังคับหมู่ ถึงรองสารวัตร) ธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
3.1 ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตําแหน่งระดับ ผู้บังคับหมู่ที่ปฏิบัติอยู่เดิม โดยปฏิบัติงานในกลุ่มงานอํานวยการและสนับสนุน ภายใต้การกํากับตรวจสอบ โดยทั่วไป และอาจได้รับมอบหมายให้ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจจํานวนหนึ่ง
3.2 ตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ แก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบให้เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว
3.3 ปฏิบัติงานด้วยตนเองในลักษณะของผู้มีประสบการณ์ในงานด้าน อํานวยการและสนับสนุนของหน่วยงานนั้น ๆ
3.4 ช่วยเหลืองานของข้าราชการตํารวจระดับตําแหน่งสารวัตรหรือ เทียบเท่า
3.5 ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชา
4 ผู้บังคับหมู่ ธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
4.1 งานธุรการและสารบรรณทั่วไปของสถานีตํารวจ
4.2 งานกําลังพล ของสถานีตํารวจ
4.3 งานสวัสดิการ
4.4 งานการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.5 งานทะเบียนคนต่างด้าวและงานการขออนุญาตต่างๆ
4.6 งานการประชาสัมพันธ์
4.7 งานดูแลห้องประชุมและจัดการประชุม
4.8 งานประมาณ การเงิน พัสดุ พลาธิการและสรรพาวุธ
4.9 งานจัดการเรื่องเงินสินบน เงินรางวัล และเงินค่าตอบแทน
4.10 งานการจัดอาหารเลี้ยงดูผู้ต้องหา
4.11 งานปฏิบัติหน้าที่พลขับ หรืองานนําสาร
4.12 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอํานวยการ
4.13 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายจราจรในสถานีตำรวจ

1. หัวหน้างานจราจร
1.1 มีหน้าที่ดังนี้ เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงานจราจร รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านจราจร วางแผน อํานวยการ สั่งการ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการ และ บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร รวมทั้งงานจราจรตามโครงการพระราชดําริ และงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจร ต่อเนื่องกัน โดยจําแนกออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1 งานควบคุม ดูแล ให้คําปรึกษาแนะนํา ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชาในงานจราจร
1.1.2 งานวางแผนจัดการและควบคุมการจราจร ตลอดจนจัดทําแผนที่จราจรของพื้นที่ รับผิดชอบ และของพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
1.1.3 งานศึกษาเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการจราจร และนําวิทยาการต่าง ๆ มา ใช้ในงานจราจร
1.1.4 งานให้ความรู้และการศึกษาอบรมผู้ปฏิบัติหน้าที่จราจร
1.1.5 งานสอดส่อง ตรวจตรา แนะนํา ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร
1.1.6 งานเก็บรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดและ การควบคุมการจราจร
1.1.7 งานการส่งข้อมูลข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน ปราบปราม และส่งให้งานป้องกันปราบปราม
1.1.8 เมื่อได้รับคําสั่งไม่ว่าจะเป็นคําสั่งโดยฉับพลันทันที หรือตามแผนที่ผู้บังคับบัญชา กําหนดให้ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในการเข้าระงับ ปราบปราม จับกุม สกัดจับ ก็ให้ปฏิบัติตามคําสั่ง
1.1.9 กรณีมีการกระทําความผิดให้พิจารณาสั่งการให้ผู้ปฏิบัติงานจราจรดําเนินการ จับกุมหรือดําเนินการจับกุมด้วยตนเอง
1.1.10 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และ พระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
1.1.11 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม ในการควบคุมความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี และอื่น ๆ
1.1.12 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม เพื่อทําการตรวจค้นจับกุม
1.1.13 งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจ ทั้งในด้านการ ปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
1.1.14 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมาย ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจํา
1.1.15 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
1.1.16 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2. ผู้ปฏิบัติงานจราจร
2.1 สารวัตรจราจร มีหน้าที่ดังนี้
2.1.1 ควบคุม ตรวจสอบ ให้คําปรึกษา แนะนํา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขการ ปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในงานจราจร
2.1.2 จัดและควบคุมการจราจร
2.1.3 ศึกษาเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการจราจร และนําวิทยาการ ต่าง ๆ มาใช้ในงานจราจร
2.1.4 ให้ความรู้และการศึกษาอบรมแก่ข้าราชการตํารวจ
2.1.5 สอดส่อง ตรวจตรา แนะนํา ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร
2.1.6 ว่ากล่าวตักเตือนก่อนออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือออกใบสั่ง เจ้าพนักงานจราจร หรือจับกุมผู้ละเมิดกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร
2.1.7 จัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร
2.1.8 เก็บรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการ ป้องกันปราบปราม และส่งให้ฝ่ายป้องกันปราบปราม
2.1.9 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.1.10 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม ในการควบคุมความสงบ เรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.1.11 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม เพื่อทําการตรวจค้น จับกุม
2.1.12 เมื่อได้รับคําสั่งไม่ว่าจะเป็นคําสั่งโดยฉับพลันทันที หรือตามแผนที่ ผู้บังคับบัญชากําหนดให้ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในการเข้าระงับ ปราบปราม จับกุม สกัดจับ ก็ให้ปฏิบัติตาม คําสั่ง
2.1.13 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมาย ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจําและต้อง รีบรายงานให้หัวหน้างานจราจรทราบในทันที
2.1.14 งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจทั้งใน ด้านการปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินัย
2.1.15 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
2.1.16 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.2 รองสารวัตรจราจร มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1 ปฏิบัติงานตามข้อ 2.2.1 – 2.2.5
2.2.2 การปฏิบัติหน้าที่หากมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้มีอํานาจมอบหมายให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เสียหายต่อหน้าที่การงานประจําและ ต้องรีบรายงานให้หัวหน้างานจราจรหรือสารวัตรจราจรทราบในทันที
2.2.3 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
2.2.4 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.2.5 รองสารวัตร (ตําแหน่งควบผู้บังคับหมู่ ถึงรองสารวัตร) งานจราจร มีหน้าที่ดังนี้
2.2.5.1 ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของตําแหน่งระดับ ผู้บังคับหมู่ที่ปฏิบัติอยู่เดิม โดยปฏิบัติหน้าที่ในสายงานจราจร ภายใต้การกํากับตรวจสอบโดยทั่วไป และอาจ ได้รับมอบหมายให้ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจจํานวนหนึ่ง
2.2.5.2 ตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ แก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบให้เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว
2.2.5.3 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าจราจร
2.2.5.4 ปฏิบัติงานด้วยตนเองในลักษณะของผู้มีประสบการณ์ในงานด้าน จราจรของหน่วยงานนั้น ๆ
2.2.5.5 ช่วยเหลืองานของข้าราชการตํารวจระดับตําแหน่งสารวัตรหรือ เทียบเท่า
2.2.5.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชา
2.3 ผู้บังคับหมู่ จราจร
2.3.1 ทําหน้าที่ธุรการ มีหน้าที่ดังนี้
2.3.1.1 งานธุรการทั่วไปของงานจราจร
2.3.1.2 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.3.1.3 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม ในการควบคุม ความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.3.1.4 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม เพื่อทําการ ตรวจค้นจับกุม
2.3.1.5 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
2.3.1.6 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2.3.2 ทําหน้าที่จราจร มีหน้าที่ดังนี้
2.3.2.1 เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการจราจร ตลอดจนนํา วิทยาการต่าง ๆ มาใช้ในงานจราจร
2.3.2.2 จัดและควบคุมการจราจรตามที่รองสารวัตรจราจร หรือ สารวัตรจราจร หรือหัวหน้างานจราจรมอบหมายสั่งการ
2.3.2.3 จัดและควบคุมการจราจร โดยจัดและควบคุมการจราจร ตามที่รองสารวัตรจราจร หรือสารวัตรจราจร หรือหัวหน้างานจราจร
2.3.2.4 สอดส่อง ตรวจตรา แนะนํา ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร
2.3.2.5 ว่ากล่าวตักเตือนก่อนออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร หรือ ออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร
2.3.2.6 การจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร
2.3.2.7 เก็บรวบรวมข้อมูล ข่าวสารหรือข้อเท็จจริงที่เป็น ประโยชน์ต่อการป้องกันปราบปราม โดยรายงานข้อมูลข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมได้ต่อรองสารวัตร จราจรหรือสารวัตรจราจร หัวหน้างานจราจร หรือกรณีเร่งด่วนให้แจ้งโดยตรงต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่อง นั้น ๆ ก่อน แล้วรายงานรองสารวัตรจราจรหรือสารวัตรจราจร หรือหัวหน้างานจราจร ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่หัวหน้าสถานีตํารวจกําหนด
2.3.2.8 ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดําเนินเข้ามาในพื้นที่ของสถานีตํารวจ
2.3.2.9 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม ในการควบคุม ความสงบเรียบร้อย กรณีมีเหตุพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานตามประเพณี การชุมนุมประท้วง และอื่น ๆ
2.3.2.10 ปฏิบัติงานร่วมกับงานป้องกันปราบปราม เพื่อทําการ ตรวจค้นจับกุม
2.3.2.11 เมื่อได้รับคําสั่งไม่ว่าจะเป็นคําสั่งโดยฉับพลันทันทีหรือ ตามแผนที่ผู้บังคับบัญชากําหนดให้ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในการเข้าระงับ ปราบปรามจับกุมสกัดจับ ก็ให้ ปฏิบัติตามคําสั่ง
2.3.2.12 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
2.3.2.13 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *